ในสมัยโบราณ กล่าวกันว่า เห็ดหลินจือทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้น ให้พลังชีวิตมากขึ้น ใช้บำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้มีกำลัง ทำให้ความจำดีขึ้น ทำให้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ชัดเจนดีขึ้น ส่งเสริมการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสีหน้าแจ่มใส ชะลอความแก่ ส่วนสรรพคุณอื่นๆที่ได้รวบรวมไว้ได้แก่ รักษาและต้านมะเร็ง รักษาโรคตับ ความดันโลหิตสูง ขับปัสสาวะ ปรับความดันโลหิตทั้งสูงและต่ำ ภาวะมีบุตรยาก การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ โรคภูมิแพ้ โรคประสาท ลมบ้าหมู เส้นเลือดอุดตันในสมอง อัมพาต อัมพฤกษ์ ปวดเมื่อย ปวดข้อ โรคเกาต์ โรคเอสแอลอี เส้นเลือดหัวใจตีบ ตับแข็ง ตับอักเสบ ปวดประจำเดือน ริดสีดวงทวาร อาหารเป็นพิษ แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ บำรุงสายตา และความเชื่อดังกล่าว ยังคงสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน
เห็ดหลินจือได้ถูกบันทึกไว้ว่า มีขึ้นอยู่ตามธรรมชาติมาก กว่า 100 สายพันธุ์ และสำหรับสายพันธุ์ที่นิยมมีสรรพคุณทางยาดีที่สุดคือ กาโนเดอร์ม่า ลูซิดั่ม (Ganoderma lucidum) หรือสายพันธุ์สีแดงเห็ดหลินจือมีสารโพลีแซคคาไรด์ ซึ่งเป็นสารยับยั้งอาการต่างๆ ข้างต้น เห็ดหลินจือในแต่ละชนิดจะมีปริมาณสารโพลีแซคคาไรด์ในปริมาณที่แตกต่างกัน แต่สายพันธุ์ที่มีสารโพลีแซคคาไรด์มากที่สุด คือ เห็ดหลินจือสีแดง ซึ่งมีงานวิจัยต่างๆ พบว่ามีสารโพลีแซคคาไรด์มากที่สุดในบรรดาเห็ดหลินจือทั้งหมด ปัจจุบัน มีผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับ เห็ดหลินจือออกมาจำหน่ายกันเป็นจำนวนมาก การเลือกผลิตภัณฑ์ เห็ดหลินจือแดงควรศึกษาตั้งแต่วิธีการเพาะปลูก ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญ เพราะการจะได้เห็ดหลินจือที่มีคุณภาพที่ดีนั้น ตัวเห็ดหลินจือเอง จะต้องได้รับการเพาะเลี้ยงในสภาวะที่เหมาะสม ทั้งในเรื่องความชื้น แสงสว่าง และสารอาหารที่ได้รับ ส่วนขั้นตอนการแปรรูป ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญ เพราะถือเป็นกระบวนการที่จะสกัดสารโพลีแซคคาไรด์จากตัวเห็ดเองออกมาให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้การบรรจุภัณฑ์ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ต้องให้ความสนใจไม่แพ้กัน ควรเป็นบรรจุภัณฑ์ที่สามารถกันความชื้นได้ดี เพราะว่าความชื้นจะทำให้เห็ดหลินจือขึ้นราได้ เนื่องจากเห็ดหลินจือค่อนข้างไวต่อความชื้น
การรับประทานเห็ดหลินจือ
สำหรับผู้ที่รับประทานเห็ดหลินจือใหม่ๆ นั้นอาจจะรู้สึกมึนศรีษะ ปวดเมื่อย ปวดตามข้อ ง่วงนอน ผัวหนังเกิดอาการคัน อาเจียน อาการคล้ายคนท้องเสีย หรือจะมีลักษณะตามโรคนั้นๆ ถือเป็นปฏิกิริยาสะท้อนกลับ อันเป็นเรื่อง ปกติของการบำบัด ด้วยยาสมุนไพรแผนโบราณ เนื่องจากเมื่อตัวยาได้เริ่มเข้าไปบำบัดนั้น จะเข้าไปชะล้างสิ่งที่เป็นพิษ ในร่างกายให้สลายหรือเคลื่อนย้ายขับสารพิษ ออกจากร่างกาย
จึงทำให้ร่างกายเกิดอาการผิดปกติดังกล่าว ซึ่งเป็นสัญญาณ ว่าร่างกายกำลังฟื้นตัว ไม่ใช่ผลข้างเคียง ดังเช่น สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน เมื่อรับประทานหลินจือแล้วอาจจะมีการ ขับถ่ายน้ำตาล ออกมามากผิดปกติ ส่วนผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์อาจเกิดอาการเจ็บปวดมากขึ้น โรคไต หรือผู้ป่วยที่ต้อง ล้างไต จะปวดเมื่อยตามข้อ เท้าจะบวม ร่างกายอ่อนเพลีย ซึ่งอาการเช่นนี้จะเกิดขึ้นระยะเวลาสั้น ๆ เพียง 2-3 วัน หรือประมาณ 1 อาทิตย์ ก็จะกลับสู่สภาพปกติ แล้วแต่สภาพร่างกาย อันแตกต่างกัน ของแต่ละคน ไม่ต้องตกใจ ให้รับประทานหลินจือต่อไป อย่าหยุด หากมีผลทางอาการมาก ให้ลด จำนวนแคปซูลลง เมื่อมีอาการปกติ ให้รับประทานตามคำแนะนำต่อไป สำหรับผู้ป่วยที่กำลัง รับประทานยารักษาที่แพทย์สั่ง ก็สามารถรับประทานหลินจือควบคู่ไปได้