วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

"ขนมไหว้พระจันทร์" สัญลักษณ์ของความสามัคคี






       ถ้าหากจะพูดถึงเทศกาลไหว้พระจันทร์ซึ่งเป็นเทศกาลของชาวจีนซึ่งโดยปกติจะเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 8 (เดือนกันยายน หรือตุลาคม) เทศกาลนี้จัดขึ้นกลางฤดูใบไม้ร่วง จุดประสงค์ของการจัดเทศกาลนี้คือ เพื่อระลึกถึงเทพธิดาแห่งพระจันทร์ ซึ่งเชื่อกันว่าถือกำเนิดขึ้นในวันนี้  และในเทศกาลดังกล่าวนี้ "ขนมไหว้พระจันทร์" ถือว่าเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของเทศกาลนี้

 สำหรับใน "วันไหว้พระจันทร์" นอกจากเป็นวันไหว้บูชาดวงจันทร์ของชาวจีนแล้ว ยังเปรียบเสมือนวันแห่งความสามัคคีกลมเกลียวของชาวจีนอีกด้วย เนื่องจากเป็นวันที่ระลึกถึง การที่ชาวจีนร่วมมือร่วมใจกัน จนสามารถปลดแอกตนเองออกจากพวกมองโกลได้


     โดยข้อเท็จจริงดังกล่าวนั้นไม่ได้รับการระบุไว้ชัดเจน แต่เป็นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่ถูกเล่าสืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษว่า ในราวๆ ปี พ.ศ. 1911 ในช่วงมองโกลยึดครองจีน ชาวจีนบางพวกได้ร่วมมือกันต่อต้าน และมีความคิดที่จะเรียกชุมนุมพวกเดียวกันให้ได้เยอะ ๆ โดยไม่ให้ใครจับได้ พวกเขาจึงวางอุบาย ทำของไหว้ชนิดหนึ่งขึ้นมา คือ ขนมเค้กที่มีลักษณะเป็นก้อนกลมใหญ่ ใส่ไส้หนา ๆ แต่มีจุดประสงค์ที่แท้จริงเพื่อไว้ซุกซ่อนข้อความลับของเหล่าผู้ต่อต้าน เนื้อความบอกให้ประชาชนเข้ามาร่วมชุมนุมในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 แล้วนำไปแจกจ่าย พวกทหารมองโกลก็ไม่ทันระวัง คิดว่าเป็นประเพณีโดยปกติของชาวจีน ด้วยเหตุนี้ชาวจีนจึงสามารถรวบรวมพรรคพวกจนปราบทหารมองโกลลงได้ ซึ่งขนมนั้นก็คือ "ขนมไหว้พระจันทร์" ที่สืบทอดต่อๆ กันมาจนถึงปัจจุบันนั่นเอง และนอกจากข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เหล่านี้แล้ว ก็ยังมีนิทานและตำนานอีกหลายเรื่อง หนึ่งในจำนวนนี้ก็คือเรื่องเกี่ยวกับนางเซียงง้อ (บางเรื่องเล่าก็เรียกว่า ฉางเอ๋อ) ซึ่งเป็นหญิงที่มีความงดงามมาก นางเป็นภรรยาของขุนนางจีนท่านหนึ่ง หลังจากที่นางทานยาวิเศษเข้าไป นางก็เหาะขึ้นไปอยู่บนพระจันทร์ภายหลังนางกลายเป็นอมตะหลังจากที่ได้ดื่มน้ำอมฤตของเทพธิดาองค์หนึ่งบนสวรรค์ กล่าวกันว่านางจันทรเทพธิดาเสี้ยงหงอมีน้ำใจเมตตาเอื้ออารีมาก พอถึงฤดูกาลเพาะปลูกนางก็จะประพรมน้ำอมฤตลงมาบนพื้นโลกและนี่ก็นำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองแก่ชาวไร่ชาวนา และเพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูต่อนางจันทรเทพธิดา ชาวนาจึงทำขนมโก๋จากแป้งข้าวเจ้าเพื่อสักการะนางในคืนวันเพ็ญเดือน 8

     สำหรับในประเทศไทย ศิลปะการทำไหว้พระจันทร์ถูกนำเข้ามาเผยแพร่โดยชาวจีนอพยพมากกว่า 100 ปีมาแล้ว ขนมไหว้พระจันทร์ของจีนแต่เดิมนั้นมีส่วนประกอบ เช่น ถั่วแดง ลูกนัทจีน 5 ชนิด และ เมล็ดบัว เป็นต้น ในประเทศไทยก็มีส่วนประกอบที่แตกต่างออกไป เช่น การรวมเอาทุเรียน ลูกเกาลัดและลูกพลับเข้าไว้ด้วย เครื่องปรุงที่เพิ่มเข้ามาก็อาจจะรวมเอาเมล็ดบัว ไข่แดงเค็ม และเมล็ดแตงโมด้วย ซึ่งหลังจากที่ทำพิธีไหว้พระจันทร์เรียบร้อยแล้ว ประเพณีที่ทำสืบต่อกันมาก็คือ คนในครอบครับก็จะนำขนมไหว้พระจันทร์มาแบ่งกันกิน แสดงให้เห็นถึงความสามัคคี  ดังนั้นจึงเรียกได้ว่า ขนมไหว้พระจันทร์เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความกลมเกลียวสามัคคี ก็ว่าได้ 



ที่มา http://th.wikipedia.org/
ภาพประกอบ :www.lifestyleasia.com/th/features/wine-and-dine/ชวนชิมขนมไห้วพระจันทร์-5568 ,  http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=morkmek&month=21-09-2010&group=8&gblog=16

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น