เต่าแก้มแดง หรือที่นิยมเรียกกันว่า เต่าญี่ปุ่น (อังกฤษ: Red-eared slider) เป็นเต่าน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปอเมริกาเหนือ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trachemys scripta elegans มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำแถบรัฐอิลลินอยส์, แม่น้ำมิสซิสซิปปี ไปจนถึงอ่าวเม็กซิโก เหตุที่ได้ชื่อว่า เต่าญี่ปุ่นเพราะว่าในประเทศไทย พ่อค้าชาวญี่ปุ่นเป็นบุคคลแรกที่นำเต่าชนิดนี้มาขาย จึงทำให้ได้ชื่อว่า เต่าญี่ปุ่น
ลักษณะเมื่อแรกเกิด กระดองจะเป็นสีีเขียวเมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนไปเป็นสีคล้ำ เท้าทั้ง 4 ข้างมีพังผืดใช้ว่ายน้ำได้ดี มีจุดเด่นคือ รอบ ๆ ดวงตามีสีแดง จึงทำให้ได้ชื่อว่า เต่าแก้มแดง ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 1 ฟุต โดยที่ตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่าตัวเมียเล็กน้อย กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ ผสมพันธุ์กันในน้ำระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน จากนั้นในเดือนสิงหาคม ตัวเมียจะขึ้นมาวางไข่ในหาดทราย ไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 60-75 วัน อายุเมื่อพร้อมที่จะผสมพันธุ์ประมาณ 2 ปี และมีอายุขัยโดยเฉลี่ย 30 ปี
เต่าแก้มแดง นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินมาก ในประเทศไทยมีการเลี้ยงกันมานานกว่า 30 ปี ได้รับความนิยมอย่างยิ่งเนื่องจากความน่ารักในเต่าขนาดเล็กประกอบกับมีราคาถูก แต่ทว่าก็ได้กลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน เนื่องจากเมื่อเต่าโตขึ้นแล้วไม่สวยน่ารักเหมือนอย่างเก่า เจ้าของจึงนำไปปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติ กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น เนื่องจากสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี และยังทนทานต่อมลภาวะได้ดีกว่าเต่าพื้นเมือง ทำให้แพร่ขยายพันธุ์แย่งอาหารและถิ่นที่อยู่ของเต่าพื้นเมืองไทย
วิธีเลี้ยงเต่าญี่ปุ่น เทคนิควิธีง่ายๆในการเลี้ยงเต่าญี่ปุ่นไม่ให้ป่วย
1 เริ่มจากที่เลี้ยงจะต้องไม่ใช่ห้องแอร์ และโดนแสงแดดส่องทุกๆวัน แสงแดด สำคัญต่อสัตว์เลื้อยคลานมากๆครับ เพราะแสงแดดจะกระตุ้นให้มีการผลิต วิตามินD3 ซึ่งวิตามินD3นี้จะช่วยให้เต่าสามารถดูดซึมแคลเซี่ยมจากอาหารที่ กินเข้าไปได้ครับแค่นี้จะหมดปัญหาเต่ากระดองนิ่มตายได้แล้ว นอกจากนี้แสง แดดยังช่วยเรื่องการป้องกันการขาดวิตามินA ถ้าขาดเต่าจะตาปิดและบวมถ้าปล่อย ให้ถึงขึ้นนี้แล้วทำใจไว้ด้วยเลยนะครับ
2 เต่าญี่ปุ่นกินเนื้อเป็นหลัก(อย่าคิดว่าเต่ากินเต่าผักบุ้ง) ควรให้อาหาร ที่เป็นเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อกุ้ง เนื้อปลา ไส้เดือน หนอนนก หรือแม้แต่ อาหารเม็ดของปลาดุกที่โปรตีนสูงๆก็สามารถใช้ได้ดีครับ สำหรับอาหารสำเร็จ รูปของเต่าเม็ดเขียวๆยาวๆถึงราคาจะแพงแต่คุณภาพห่วยสิ้นดีครับ ไม่ต้องซื้อ มาให้เต่ากินหรอกครับ สารอาหารมันน้อยไป เราสามารถเสริมผักให้เต่ากินได้ บ้าง แต่มันกินไม่มากหรอกครับ แค่แทะๆเล่นเท่านั้น
3 ควรมีการเปลี่ยนน้ำบ่อยๆเพราะเต่าชอบถ่ายใส่น้ำและน้ำเสียเร็วมาก ถ้า ปล่อยให้หมักหมมเต่าอาจเป็นรโรคผิวหนังจากแบคทีเรียได้ครับ
4 เวลาเต่าลอกคราบจะเห็นเป็นเมือกๆขาวๆตามคอและขา เต่ามันจะกินคราบของมัน เองไม่ต้องกังวล
แยกเพศด้วยการสังเกตตาเปล่า
มีจุดให้สังเกตดังนี้ จุดแรก เล็บที่ขาหน้า เต่าตัวผู้จะมีเล็บยาวมากกว่าในตัวเมีย ด้วยเพราะต้องใช้ในการเกาะด้านข้างของกระดองตัวเมียเพื่อการผสมพันธุ์ จุดที่สอง รูปทรงกระดอง เมื่อนำมาวางเปรียบเทียบกัน จะพบว่ากระดองของเต่าตัวเมียจะมีขนาดใหญ่และกว้างกว่าตัวผู้ เพราะต้องคอยรับการขึ้นขี่หลังของตัวผู้ระหว่างขั้นตอนการผสมพันธุ์ จุดสุดท้าย หางของเต่าตัวผู้จะยาวและเรียวกว่าเต่าตัวเมียมาก
การเตรียมสถานที่เลี้ยง เราทราบแล้วว่าเขาเป็นเต่าน้ำมาจากแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ ก็ควรจะเลี้ยงในสภาพกึ่งธรรมชาติ เพราะเต่าต้องการพื้นที่ว่ายน้ำ , พื้นที่สำหรับขึ้นมากินอาหารบวกกับการพักผ่อนบนบก และพื้นที่สำหรับการขึ้นมาตากแดดเพื่อสุขภาพที่ดี กระผมขอแนะนำให้ใช้ตู้เลี้ยงปลาหรือบ่อธรรมชาติกลางแจ้ง ที่มีพื้นที่แห้งและบ่อน้ำขนาดเล็ก แต่ต้องเพียงพอรองรับการเติบโตในอนาตคได้ด้วย เพราะเต่าแก้มแดงเมื่อโตเต็มที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางกระดองไม่ต่ำกว่า ๓๐ เซนติเมตรหรือ ๑ ฟุตทีเดียว ส่วนความสูงของขอบบ่อหรือตู้ปลาก็ไม่ควรจะต่ำกว่า ๓๐ เซนติเมตร เพราะเต่าแก้มแดงปีนเก่งมาก
โรคภัยไข้เจ็บและความผิดปกติต่าง ๆ ที่พบได้บ่อยในเต่าแก้มแดง
ตาเจ็บและบวม จากภาวะขาดวิตามิน เอ พบได้บ่อย ๆ ในเต่าแก้มแดงอายุน้อยที่เราเพิ่งซื้อมาเลี้ยงได้ประมาณ ๓ – ๔ เดือน และให้กินแต่อาหารเม็ดเท่านั้น เต่าจะใช้วิตามินเอซึ่งสะสมอยู่ในตับจนหมด โดยเต่าจะซึมไม่ค่อยกินอาหาร จากนั้นตาก็จะเริ่มบวมปิด พบฝ้าขาวในช่องปาก ไม่ค่อยเคลื่อนไหวหรือว่ายน้ำ ท่านเจ้าของกรุณานำเจ้าเต่าน้อยไปพบสัตวแพทย์ เพื่อทำการฉีดวิตามินให้สัปดาห์ละครั้ง ติดต่อกันสัก ๒ -๓ สัปดาห์ก็จะดีขึ้น ส่วนการป้องกันทำได้โดยผสมวิตามิน เอ ชนิดแคปซูลลงไปในอาหารเม็ดสำหรับเต่าบ้าง หรือบางท่านก็ให้ตับต้มกับเต่าเป็นอาหารเสริม
จุดหนองสีเหลืองกระจายตามตัว ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด ภาวะนี้ก็เช่นเดียวกันที่พบในเต่าเล็ก ส่วนใหญ่พบหลังเพิ่งซื้อมาไม่เกินหนึ่งเดือน เต่าจะไม่กินอาหาร , นอนซึม ,ไม่ว่ายน้ำ , มีจุดหนองสีเหลืองกระจายตามตัวยกเว้นส่วนกระดอง ต้องรีบพาไปพบสัตวแพทย์โดยด่วน เพราะมีหลายตัวที่มารักษาไม่ทันเสียชีวิตไปเสียก่อน สาเหตุเกิดจากการเลี้ยงเต่าที่แออัดเกินไป , น้ำที่ใช้เลี้ยงสกปรก รวมถึงการให้อาหารที่ไม่ถูกต้องด้วย
เนื้อตัวบวมออกมาจากกระดอง เพราะได้รับโปรตีนมากเกินไป หลาย ๆ ท่านคงเคยพบภาวะนี้ แต่เรามักคิดว่าเต่าอ้วน ซึ่งความจริงแล้ว ไอ้ที่ป่อง ๆ ออกมานั้นมิใช่ไขมัน แต่เป็นของเหลวใส อันเนื่องมาจากภาวะท้องมานและไตวาย โดยปกติการให้อาหารจำพวกโปรตีนแก่เต่าเล็ก ๆ นั้นเป็นเรื่องดี แต่บางครั้งมันมากเกินไปจนทำให้ไตทำงานหนักเกินไปจนสูญเสียหน้าที่ได้ ซึ่งภาวะนี้เกิดขึ้นได้ง่ายแต่แก้ไขได้ยาก
กระดองบิดผิดรูป มาจากการขาดแคลเซียมและแสงแดด ท่านทราบหรือไม่ว่าองค์ประกอบของการสร้างกระดองและโครงกระดูกของเต่านั้น ประกอบด้วย แคลเซี่ยมที่เพียงพอจากอาหาร , วิตามินดีที่เพียงพอและแสงแดดอย่างสม่ำเสมอ ถ้าองค์ประกอบดังกล่าวเหล่านี้ขาดหรือบกพร่องไป ก็จะส่งผลอย่างแน่นอน ดังเช่นหลายท่าน เลี้ยงเต่าแก้มแดงไว้ในห้องหรืออยู่แต่ภายในบ้าน และก็ให้อาหารเม็ดแต่อย่างดียว นำไปตากแดดบ้างบางครั้ง เต่าก็สามารถเติบโตได้ แต่รูปทรงกระดองก็จะไม่สวยงามตามสายพันธุ์ ส่วนใหญ่จะพบว่าขอบกระดองบิดขึ้นด้านบน , แขนขาโค้งงอ บางตัวถึงขั้นกระดองบิดจนกระดูกสันหลังบิดไปด้วย สองขาหลังจึงใช้ไม่ได้และเป็นอัมพาตในที่สุด ทางที่ดีที่สุดคือการป้องกัน ด้วยการให้อาหารที่ถูกต้องและนำเต่ามาตากแดดอย่างสม่ำเสมอ โดยเราจะสังเกตว่า เต่าที่เลี้ยงในบ่อกลางแจ้งจะไม่พบปัญหานี้เลย
กัดทะเลาะกันเป็นแผลตามตัว อันนี้ถือเป็นเรื่องปกติ แต่ส่งผลถึงขนาดของสถานที่เลี้ยงว่าไม่เพียงพอต่อจำนวนเต่าหรือคับแคบเกินไปนั่นเอง ส่วนแผลต่าง ๆ ก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของสัตวแพทย์นะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น